งานหัตถกรรม
หัตถกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493
ให้ความหมายร่วมกับคำ หัตถการ หัตถกิจ ว่า " การทำด้วยฝีมือ การช่าง " แต่ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2525 ได้แยกคำหัตถกรรมออกมาและให้ความหมายว่า "
การทำในโรงงานอุตสาหกรรม " ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างขึ้น คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความหมายของ
สินค้าหัตถกรรม ดังนี้
สินค้าหัตถกรรม หมายถึง
สิ่งที่ต้องใช้ฝีมือในการประดิษฐ์และมีความงามด้านศิลปะและมีความงามด้านศิลปะแฝงอยู่
โดยอาจจะใช้เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง ช่วยในการผลิตด้วยก็ได้
กำเนิดของหัตถกรรม
ย้อนรอยอดีตถึงยุคต้นกำเนิดของมนุษย์
เมื่อแรกที่มนุษย์อุบัติขึ้นในโลกนั้นก็เหมือนกับสัตว์มีชีวิตอื่นๆ
คือมาพร้อมกับธรรมชาติ ไม่มีสิ่งของใดติดตัวมา
แต่เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์
ความพยายามที่จะรักษาชีวิตให้อยู่รอด
เป็นผลให้มนุษย์คิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมา
เพื่อสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดยอาศัยแรงงานจากมือและร่างกายของตน มาดัดแปลงวัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติใกล้ตัว
เพื่อให้มีรูปร่างประโยชน์ใช้ส้อยได้เหมาะสมจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานหัตถกรรมเพื่อชีวิต
กาลเวลาผ่านไป
เมื่อมนุษย์เจริญขึ้น อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ รู้จักปลูกพืชและสะสมอาหาร
ไม่ต้องกังวลกับการแสวงหาอาหารทุกวัน ทำให้มีเวลาว่างพอที่จะคิดสร้างสรรค์งานอื่นๆ
รุ้จักแบ่งงานตามความถนัด จึงเกิดมืออาชีพต่างๆขึ้น
งานหัตถกรรมจึงเป็นอาชีพหนึ่งของกลลุ่มผู้มีฝีมือในการประดิษฐ์
สิ่งของเครื่องใช้จากวัตถุดิบในธรรมชาติ เมื่อมีการผลิตซ้ำๆ กันมากจนเกิดความชำนาญ
และถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้พัฒนาหัตถกรรมให้มีประโยชน์ใช้ส้อยดีขึ้นเรื่อยๆ
และเรียนรู้ถึงคุณสมบัติของวัตถุดิบ
รู้จักเลือกสรรวัตถุดิบให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมแต่ละประเภท
และการใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นตามความก้าวหน้าของยุคสมัยนั้นๆมาพัฒนา
กระบวนการผลิตหัตถกรรม ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตลอดจนการปรุงแต่งความงามของศิลปะในงานหัตถกรรม
เพื่อสนองความต้องการทางจิตใจและคตินิยม ความเชื่อ
รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยทางร่างกายให้สอดคล้องกัน
งานหัตถกรรมจึงกลายเป็นศูนย์รวมของสหวิทยาการศาตร์ต่างๆ
ที่มีคุณค่าทางศิลปะ วิทยาศาตร์ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติและสืบทอดเป็นมรดกแห่งความภาคภูมิใจของคนในชาติ
ประเภทของงานหัตถกรรม
1.
ด้านประโยชน์ใช้สอย สร้างขึ้นบนพื้นฐานการดำรงชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการเพื่ออำนวยความสะดวกสายทางกายภาพหรือเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิต
2.
ด้านความเชื่อและค่านิยม งานศิลปหัตถกรรม
แต่เดิมนั้นผู้สร้างและผู้ใช้เป็นคนเดียวกัน คือสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเอง การที่ผู้สร้างจะมีค่านิยมและความเชื่อต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด
อย่างไรก็ย่อมจะถ่ายทอดสู่งานที่ตนสร้างด้วยความรู้สึกนึกคิดของตน
โดยมีแบบแผนของกลุ่มวัฒนธรรมที่ดำรอยู่เป็นตัวหล่อหลอม
งานศิลปหัตถกรรมจึงสะท้อนความเชื่อ ค่านิยม
ของผู้สร้าง
3.
คุณค่าทางด้านประวัตศาสตร์ และโบราณคดี
เนื่องจากงานศิลปหัตถกรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีจุดประสงค์
และเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตได้เป็นอย่างดีในฐานะข้อมูลหลักฐานที่เป็นรูปธรรมทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดี
4.
คุณค่าทางด้านความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมวัฒนธรรม งานศิลหัตถกรรมเกิดขึ้นภายใต้ความแตกต่างทางสภาพแวดล้อม
ฐานทรัพยากร ประเพณี คติความเชื่อ
ที่หล่อหลอมเกิดเป็นแบบแผนวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม
5.
คุณค่าทางด้านความงาม การสร้างงานศิลปหัตถกรรมย่อมประกอบขึ้นด้วยความต้องการทางประโยชน์ใช้สอย
แต่ผู้สร้างก็ได้พิจารณารูปทรงที่เหมาะสมและความงามที่น่าใช้สอยประกอบไปด้วยโดยได้แสดงออกผ่านทางรูปทรง
โครงสร้าง ลวดลาย วัสดุและฝีมืออันวิจิตร ประณีต
6.
คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการผลิตสินค้าและของที่ระลึกจากการท่องเที่ยว
เป็นตัวสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น จนถึงการสร้างรายได้โดยการส่งออกต่างประเทศ
ตัวอย่าง งานหัตถกรรม ใน GorDee.lnwshop.com (ก็ดี)
งานผ้า – ผ้ามัดย้อม
งานปั้น
– เค้ก ปั้นจิ๋ว
เครื่องประดับ
– ที่คาดผม หมวก
ของตกแต่ง
– ดอกไม้ประดิษฐ์
ของใช้
– พวงมาลัยกระดาษ
งานทอ
– ผ้าขาวม้า
งานถัก
– สร้อยข้อมือ
และยังมี
อีกหนึ่งชนิด คือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ – น้ำลูกยอ
สนใจรายละเอียดสินค้า
เข้าไปชมเพิ่มเติมได้ที่ http://GorDee.lnwshop.com/